ReadyPlanet.com


เบียร์
avatar
รวย


 เบียร์

เบียร์ เป็นเมรัยหลาย ๆ รูปแบบที่ผ่านกระบวนการหมัก ผลิตภัณฑ์พวกธัญพืช ประวัติศาสตร์ของเบียร์นั้นมีมายาวนาน เบียร์เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดแรกของโลก เริ่มผลิต 6,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยชนชาติบาบิโลเนีย เบียร์เป็นที่รู้จักในสมัยอียิปต์โบราณและเมโสโปเตเมีย และมีหลักฐานย้อนไปยาวนานถึง 4,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยใช้ข้าวบาร์เลย์ เป็นวัตถุดิบ ในราว 1,000 ปีก่อนคริสตกาล มีการผสมพืชอีกหนึ่งชนิดเข้าไปคือ ฮอปส์ ทำให้มีกลิ่นหอม, รสชาติขม และ สามารถรักษาคุณภาพของเบียร์ให้เก็บได้นานขึ้น แต่เบียร์เหล่านี้แตกต่างจากเบียร์ในปัจจุบัน และเนื่องจากเครื่องปรุงและกรรมวิธีในการผลิตเบียร์แตกต่างกันไปตามสถานที่ ลักษณะของเบียร์ (ชนิดของเบียร์, รสชาติ, และสี) จึงมีความแตกต่างกันได้มาก
                      อ้างอิงlucaclub88                          บาคาร่าออนไลติดท๊อปของไทย
ประวัติ
รูปสลักไม้อียิปต์ที่แสดงถึงการผลิตเบียร์ในยุคอียิปต์โบราณจากพิพิธภัณฑ์อียิปต์โรซิครูเซียน แซนโฮเซ รัฐแคลิฟอร์เนีย
เบียร์เป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่มีการเตรียมการก่อนดื่มที่เก่าแก่ที่สุดในโลก สามารถนับย้อนกลับไปได้ถึงต้นยุคหินใหม่หรือราว 9500 ปีก่อนคริสตกาลเมื่อเมล็ดธัญพืชถูกนำมาเพาะปลูกครั้งแรก[1] และได้รับการบันทึกในประวัติศาสตร์ของเมโสโปเตเมียและอียิปต์โบราณ[2] นักโบราณคดีคาดว่าเบียร์มีบทบาทสำคัญในการก่อตัวของอารยธรรม[3] เห็นได้จากเมื่อราว 5000 ปีต่อมา คนงานในเมืองอูรุกได้รับเบียร์เป็นค่าจ้าง[4] และระหว่างการก่อสร้างมหาปิรามิดในกิซา คนงานแต่ละคนได้รับปันส่วนประจำวันเป็นเบียร์สี่ถึงห้าลิตร ซึ่งช่วยทั้งโภชนาการและทำให้สดชื่นเป็นส่วนสำคัญต่อการก่อสร้างปิรามิด
หลักฐานแรกสุดทางเคมีของเบียร์ข้าวบาร์เลย์อยู่ในช่วง 3500–3100 ปีก่อนคริสตกาลจากแหล่งขุดค้นทางโบราณคดี โกดิน เทปี (Godin Tepe) ในภูเขาแซกรอส (Zagros) ทางตะวันตกของประเทศอิหร่าน[6][7] บางส่วนของงานเขียนชาวซูมาเรียนมีการอ้างอิงถึงเบียร์ ตัวอย่างเช่น คำอธิษฐานถึงเทพีนินกาซิ (Ninkasi) หรือที่รู้จักกันในชื่อ "เพลงสวดนินกาซิ"[8] ซึ่งทำหน้าที่เป็นคำอธิษฐานและวิธีจดจำสูตรเบียร์ในวัฒนธรรมของผู้มีการศึกษา[9][10] และคำแนะนำโบราณ (กรอกท้องของคุณทั้งวันและคืนทำให้มีความสุข) ถึงกิลกาเมช ที่บันทึกไว้ในมหากาพย์กิลกาเมชโดยชิดูรี (Sidur) ซึ่งอาจอ้างถึงการดื่มเบียร์[11] แผ่นจาลึกอัลบลา (Ebla tablets) ที่ค้นพบในปี ค.ศ. ในอาณาจักรอัลบลา ประเทศซีเรีย แสดงว่าเบียร์ถูกผลิตขึ้นในเมื่องเมื่อ 2500 ปีก่อนคริสตกาล[12] เครื่องดื่มหมักที่ใช้ข้าวและผลไม้ในการผลิตในประเทศจีนเกิดขึ้นประมาณ 7000 ปีก่อนคริสตกาล
 
ประวัติการผลิตเบียร์ในประเทศไทย
ประเทศไทยนั้น เริ่มมีการผลิตเบียร์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร) ได้ยื่นเรื่องขอจัดตั้งบริษัทผลิตเบียร์ขึ้นในปี พ.ศ. 2473 โดยจะใช้ปลายข้าวในการผลิตแทนข้าวมอลต์. ส่วนตัวโรงงานนั้นได้ถูกสร้างขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2476 ในย่านบางกระบือ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ภายใต้ชื่อบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด และทำการผลิตเบียร์ออกจำหน่ายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2477 ภายใต้เครื่องหมายการค้า ตราหมี ตราสิงห์แดง ตราสิงห์ขาว ตราแหม่ม ตราพระปรางค์ทอง ตราว่าวปักเป้า ตรากุญแจ ตรารถไฟ และ ที่ยังคงอยู่จนปัจจุบันนี้คือ ตราสิงห์TAGS:lucaclub88
 
ต่อมาในปี พ.ศ. 2504 มีโรงเบียร์แห่งที่สองเกิดขึ้น คือ บริษัทบางกอกเบียร์ ผลิตเบียร์ตราหนุมาน ตราแผนที่ และตรากระทิง แต่ไม่ได้รับความนิยมจากผู้ดื่มจึงได้เลิกกิจการไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2509 จึงได้เปลี่ยนเจ้าของกิจการและเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทไทยอมฤต บริวเวอรี่ จำกัด ผลิตเบียร์อมฤต และซื้อลิขสิทธิ์ยี่ห้อเบียร์จากต่างประเทศชื่อ คลอสเตอร์ มาผลิตเมื่อ พ.ศ. 2521
ส่วนผสมหลัก
องค์ประกอบหลักในการหมักเบียร์คือ น้ำ ข้าวมอลต์(คือเมล็ดข้าวอบแห้งหรือคั่ว ของเมล็ดธัญพืชที่แตกหน่อแล้ว โดยปกติใช้เมล็ดข้าวบาร์เลย์) ฮอปส์ และ ยีสต์ และยังมีส่วนผสมอื่นๆ เช่นผลเชอร์รี่ ราสเบอร์รี่ และเมล็ดธัญพืชอื่น เช่น เมล็ดข้าวสาลี (Wheat) เรียกว่า แอดจังท์ (Adjunct) หรือ ส่วนผสมข้างเคียง
น้ำ : เนื่องจากน้ำนั้นเป็นองค์ประกอบหลักของเบียร์ คุณสมบัติของน้ำที่ใช้จึงมีผลต่อรสชาติของเบียร์
มอลต์ : เมล็ดข้าวมอลต์ จากข้าวบาเลย์นั้นเป็นชนิดที่นิยมใช้มากที่สุด เนื่องมาจากมีปริมาณ เอนไซม์อะไมเลส (amylase enzyme) สูง ซึ่งทำให้กระบวนการแตกตัวของแป้งเป็นน้ำตาลนั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกเหนือจากข้าวมอลต์จากข้าวบาเลย์แล้ว เมล็ดธัญพืชอื่นๆ เช่น ข้าวสาลี ข้าวเจ้า ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต และข้าวไรย์ ทั้งแบบที่ทำเป็นข้าวมอลต์ และ เมล็ดปกติ ก็ยังใช้เป็นส่วนผสมอีกด้วย
ฮอปส์ : ส่วนผสมซึ่งให้รสขมในเบียร์ เพื่อสมดุลรสหวานจากมอลต์ นอกจากนั้นยังมีผลเป็นยาปฏิชีวนะ ต่อต้านจุลินทรีย์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ยีสต์ ส่งผลต่อการหมัก
ยีสต์ : ใช้ในกระบวนการหมักเพื่อย่อยสลายน้ำตาล ที่สกัดจากเมล็ดธัญพืช ให้เป็นแอลกอฮอล์ และ คาร์บอนไดออกไซด์ โดยปกติแล้วระดับแอลกอฮอล์ในเบียร์จะอยู่ที่ 4-6เปอร์เซ็นต์ แต่อาจจะต่ำถึง 2 เปอร์เซ็นต์ หรือ สูงถึง 14 เปอร์เซ็นต์ ยีสต์ที่ใช้แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ ยีสต์หมักลอยผิว ยีสต์หมักนอนก้น ยีสต์ธรรมชาติ
ประเภทของเบียร์
การแบ่งประเภทของเบียร์นั้นจะแบ่งได้หลายวิธี แต่วิธีหลักๆที่ใช้คือแบ่งตามประเภทของยีสต์ที่ใช้ในการหมัก โดยจะแบ่งเป็น 3 ปรเภทหลักๆ คือ
ยีสต์หมักลอยผิว (top-fermenting yeast) คือ เชื้อยีสต์ที่จะลอยตัวอยู่ที่ผิวหน้าของเบียร์เมื่อเสร็จสิ้นการหมัก
ยีสต์หมักนอนก้น (bottom-fermenting yeast) คือ เชื้อยีสต์ที่จะจมอยู่ที่ก้นภาชนะเมื่อเสร็จสิ้นการหมัก
ยีสต์ธรรมชาติ เป็นการใช้เชื้อยีสต์ตามธรรมชาติ ไม่ได้ใช้เชื้อที่เพาะเลี้ยงขึ้นมา
นอกจากนี้การแบ่งประเภทยังแบ่งตาม สี, แหล่งผลิต, วัตถุดิบที่ใช้, กระบวนการผลิต, ปริมาณแอลกอฮอล์ และอื่น ๆ
ประเภทยีสต์หมักลอยผิว
เอล
พอร์เตอร์
เบียร์ขาว
อัลท์เบียร์ (Altbier)
เคิลช์ (Kölsch)
สเตาต์
ประเภทยีสต์หมักนอนก้น
ลาเกอร์
พิลส์เนอร์
สนับสนุนบทความคุณภาพโดยlucaclub88                 บาคาร่าออนไลติดอันดับหนึ่งของไทย


ผู้ตั้งกระทู้ รวย (leojeab-dot-13-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2020-06-04 22:27:32


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.